"วัดเทพธิดารามและกุฎิสุนทรภู่"
วัดเทพธิดาราม |
· วัดเทพธิดารามวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ริมถนนมหาไชย ใกล้วัดราชนัดดาราม พอลงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เลี้ยวซ้ายจะถึงวัดราชนัดดาราม เลยไปอีกนิดจะเป็นวัดเทพธิดาราม
· การเดินทาง : มีรถประจำทางธรรมดา สาย 56, 35, 159
·
โทรศัพท์ : 0-2225-7425, 0-2222-3046 -7
วัดเทพธิดารามวรวิหาร (
วัดเทพธิดาราม ) ตั้งอยู่ริมถนนมหาไชยใกล้วัดราชนัดดา หันหน้าออกสู่คลองรอบกรุง
หรือ กำแพงพระนครด้านทิศตะวันออกในสมัยก่อน มีอาณาเขตดังนี้
ทิศเหนือ ยาวประมาณ ๑๖๐ เมตร จรดคลองหลอด
ทิศตะวันออก ยาวประมาณ ๑๓๐ เมตร จรดถนนมหาไชย
ทิศใต้ ยาวประมาณ ๑๖๐ เมตร จรดซอยสำราญราษฎร์
ทิศตะวันตก ยาวประมาณ ๑๓๐ เมตร จรดกำแพงกั้นบ้านเรือนประชาชน
เฉพาะเนื้อที่ตั้งวัด ๑๓ ไร่ ๒ งาน ๒๔.๕ ตารางวา พื้นที่มีลักษณะเป็นรูป ๔
เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งออกเป็น ๒เขตคือ ๑. เขตพุทธาวาส
คือ เขตเป็นที่ตั้งปูชนียวัตถุสถาน
ได้แก่ พระอุโบสถ พระวิหาร พระวิหารน้อย ศาลาการเปรียญ ศาลาราย เป็นต้น๒. เขตสังฆาวาส
คือ เขตเป็นที่พำนักอาศัยของพระภิกษุสามเณรในสมัยแรกของการสถาปนาแบ่งเป็น ๒
ประเภท คือ
๒.๑. ฝ่ายคันธุระสำหรับพระภิกษุสามเณรผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม
๒.๒. ฝ่ายวิปัสสนาธุระสำหรับพระภิกษุสามเณรผู้เรียนภาวนาพระกรรมฐาน
มี ๑๖ หลัง อยู่ส่วนท้าย (ทิศตะวันตก) ของวัด
วัดนี้มีการจัดวางแผนผังอาคารในเขตพุทธาวาสที่มีรูปแบบทางศิลปะและสถาปัตยกรรมพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่
3 คือ
พระอุโบสถอยู่ตรงกลาง แล้วตั้งเรียงด้วยพระวิหาร และศาลาการเปรียญ
ซึ่งอาจจะแตกต่างจากหลายวัดที่ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร และศาลาการเปรียญ ไม่ได้ตั้งเรียงเป็นแนวเดียวกัน
“วัดเทพธิดารามวรวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดพระยาไกรสวนหลวง” โดยตั้งชื่อตามสถานที่สร้างวัด
ที่แต่เดิมเป็นเรือกสวนไร่นาของพระยาไกร ซึ่งเป็นเจ้านายหรือขุนนางในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 3
ทั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นภูมินทรภักดี พระราชโอรส เป็นแม่กองในการสร้างเมื่อปี พ.ศ.2379
เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระราชทานแก่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระองศ์เจ้าวิลาส
พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3
ที่พระราชบิดาทรงพระเมตตาและโปรดปรานเป็นพิเศษเพราะทรงมีพระปรีชาสามารถรับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณอย่างใกล้ชิด
และได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอันมาก จนได้รับการสถาปนาขึ้นทรงกรม
มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ” เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม
พ.ศ.2381 ( สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2379 เสร็จในปี พ.ศ. 2382 )
![]() |
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิลาส กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ |
พระอุโบสถ
เป็นศิลปะสมัยรัชกาลที่ 3 ได้รับอิทธิพลจากศิลปะจีน
หลังคาไม่มีช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ เนื่องจากวัดนี้ถูกสร้างขึ้นในรูปแบบของศิลปะพระราชนิยมคือศิลปะที่พระราชาชื่นชอบเป็นการส่วนพระองค์
แต่จะตกแต่งหน้าบันประดับเครื่องกระเบื้องจีน และปูนปั้น ภายในมี “พระพุทธเทววิลาศหรือหลวงพ่อขาว” ประดิษฐานเป็นพระประธาน
ที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ ไม่ได้เป็นรูปจิตรกรรมฝาผนังเหมือนที่หลายวัดจะนิยมวาดเป็นชาดก นอกจากนี้ยังมีภาพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีพระสิริโฉมงดงามจริงๆ
ที่ผนังพระอุโบสถมีภาพเขียนเป็นรูปพุ่มข้าวบิณฑ์ ไม่ได้เป็นรูปจิตรกรรมฝาผนังเหมือนที่หลายวัดจะนิยมวาดเป็นชาดก นอกจากนี้ยังมีภาพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งก็ต้องยอมรับว่ามีพระสิริโฉมงดงามจริงๆ
สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างที่วัดนี้มีก็คือ
“พระปรางค์จตุรทิศ” ที่มีความงดงาม
ก่ออิฐถือปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ มีความสูงประมาณ 15 เมตร
ซึ่งตั้งอยู่บนลานทักษิณสูง ประจำทิศทั้ง 4 ของมุมพระอุโบสถ
ฐานพระปรางค์แต่ละองค์มีรูปท้าวจตุโลกบาล คือ ท้าวกุเวร ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก
และท้าววิรุฬปักข์ เทวดาที่รักษาทุกข์สุขของมนุษย์โลกไว้ทั้งสี่ทิศ
และทำหน้าที่ป้องกันอันตรายที่จะเกิดแก่มนุษย์โลก
อำนวยความสุขความเจริญให้แก่มนุษย์โลกทั้งหลายอีกด้วย รวมทั้งมี “พระเจดีย์” ทรงกลมบ้าง ทรงเหลี่ยมบ้าง
รายรอบพระวิหารจำนวน 13 องค์, “หอระฆัง” และ “ซุ้มเสมา” ที่เป็นลักษณะเก๋งจีน
บริเวณรอบพระอุโบสถ |
พระปรางค์จตุรทิศ |
ซุ้มเสมา |
พระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว)
![]() |
พระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) |
พระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถวัดเทพธิดาราม
วรวิหาร สลักด้วยศิลาขาวบริสุทธิ์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑๕ นิ้ว สูง ๒๑ นิ้ว
ชาวบ้านทั่วไปเรียกนามท่านว่า "หลวงพ่อขาว"
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบัน ทรงถวายพระนามว่า
"พระพุทธเทววิลาส"
ประวัติการสร้างไม่ปรากฏ แต่หลักฐานว่า
หลังจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สถาปนาวัดเทพธิดาราม วรวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๙ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ (พระองค์เจ้าหญิงวิลาส) พระปิยราชธิดา
และสำเร็จเรียบร้อยเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๒ แล้วจึงได้อัญเชิญ พระพุทธเทววิลาส
(หลวงพ่อขาว) มาจากพระบรมมหาราชวังประดิษฐานอยู่เหนือเวชยันต์บุษบก
เวชยันต์บุษบกหลวงพ่อขาว
เวชยันต์บุษบก รอบๆ
ประดับลายเป็นรูปเทพพนมและครุฑแบก
หล่อด้วยดีบุกปิดทองประดับด้วยกระจกเรียบลวดลายประณีตละเอียดบรรจงมาก
ผนังอุโบสถเขียนเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ดอกพุดตาลเครือเถา แบบอย่างในรัชกาลที่ ๓
พระวิหารวัดเทพธิดาราม
ปูชนียสถานที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของวัดเทพธิดาราม
อยู่ห่างจากพระอุโบสถเล็กน้อย มีพระเจดีย์ราย ทั้งสี่ด้าน
ที่หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีรูปหงส์
ซึ่งคติจีนถือว่าหงส์ เป็นสัตว์มงคลและเป็นสัญลักษณ์ของสตรีผู้สูงศักดิ์
และภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระวิหารก็เป็นภาพหงส์เช่นเดียวกัน ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อปางมารวิชัย
หน้าตัก 75 นิ้ว สูง 95 นิ้ว ด้านซ้ายและด้านขวามีพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามญาติอยู่ข้างละ 1 องค์ และมีรูปปั้นพระมหากัจจายนเถระ หน้าตัก 30
นิ้ว สูง 29 นิ้ว
เมื่อเข้าไปในพระวิหาร
ก็ยิ่งต้องตกตะลึงระคนแปลกใจ เพราะด้านหน้ารอบพระประธานมี
รูปหล่อหมู่พระอริยสาวิกา (ภิกษุณี) ที่ส่วนหนึ่งเป็นเอตทัคคะ หล่อด้วยดีบุก
ลงรักปิดทอง หน้าตัก 11 นิ้ว สูง 21 นิ้ว จำนวนถึง 52 องค์
ประดิษฐานบนแท่นหน้าองค์พระประธาน โดยแต่ละองค์จะมีใบหน้าและอิริยาบถที่แตกต่างกัน
โดยตรงกลางเป็นรูปหล่อของ “พระนางปชาบดีโคตมี” (เอตทัคคะด้านรัตตัญูญู) พระน้านางของพระพุทธเจ้า
และถือเป็นภิกษุณีองค์แรกที่มีส่วนในการช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาในหมู่สตรี
พระพุทธปฏิมา ปางมารวิชัย |
จิตรกรรมฝ้าเพดาน |
จิตรกรรมฝาผนังรูปหงส์ |
รูปหมู่พระภิกษุณี
รูปหมู่พระภิกษุณี |
ในพระวิหารมีพระพุทธปฏิมาประธาน
เป็นปางมารวิชัย ด้านหน้ามีแท่นหินอ่อนกว้าง ประดิษฐานรูปพระภิกษุณี
โดยมีองค์หนึ่งสันนิษฐานว่า พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
ภิกษุณี ความหมาย คือ
หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว , พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างรูปหมู่พระภิกษุณีไว้เมื่อครั้งสถาปนาวัดเทพธิดาราม ในปี พ.ศ. ๒๓๗๙
เป็นศิลปกรรมในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนหน้าพระพุทธปฏิมาประธานในพระวิหาร
เป็นรูปหล่อด้วยดีบุกทั้งองค์ หน้าตักกว้าง ๑๑ นิ้ว สูง ๒๑ นิ้ว จำนวน ๕๒ องค์
(นั่ง ๔๙ องค์ ยืน ๓ องค์) อยู่ในอิริยาบถต่างๆ หลากหลายท่า
มีทั้งท่านั่งปฏิบัติธรรม ฟังธรรม เสวนา ฉันหมาก สูบยา ยืนไหว้ ฯลฯ
ปัจจุบันได้ลงรักปิดทองกันชำรุด องค์หนึ่งมีลักษณะท่านั่งคล้ายสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ปางมารวิชัย สันนิษฐานว่า คือพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่ายผู้รัตตัญญู
คือผู้รู้ราตรีนาน มีประสบการณ์มาก
การสร้างพระภิกษุณี น่าจะเป็นข้อสันนิษฐานว่า
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชประสงค์จะนำพุทธบริษัทอันปรากฎอยู่ในพุทธประวัติมาแสดงไว้เป็นหลักฐาน
และการประดิษฐานไว้ที่พระอารามแห่งนี้ ก็เพื่อเป็นอนุสรณ์
เกียรติประวัติแก่พระองค์เจ้าหญิงวิลาส พระปิยราชธิดาในพระองค์ ซึ่งยกย่องเปรียบประดุจว่า
นางเทพธิดา
วัดเทพธิดาราม ยังปรากฏถึงความสัมพันธ์กับยอดกวีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ที่สำคัญมากท่านหนึ่ง คือ พระศรีสุนทรโวหาร (ภู่) หรือ สุนทรภู่
ซุ้มประตูเข้าเขตสังฆาวาส |
เมื่อเดินออกจากเขตพุทธาวาส
เพื่อไปต่อยังเขตสังฆาวาส ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าช่างในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้จัดระเบียบ
“หมู่กุฏิสงฆ์”
ไว้อย่างงดงามมาก โดยทำกุฏิทรงแปลกไม่ซ้ำแบบกัน
แต่กุฏิหนึ่งที่ไม่ลืมจะไปเยือน
เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่นำให้ต้องมาที่วัดเทพธิดารามแห่งนี้ นั่นก็คือ “กุฏิสุนทรภู่” กวีเอกของโลก ดังมีปรากฏในนิราศรำพันพิลาป
บทหนึ่งว่า
“เคยอยู่กินถิ่นที่กระฎีก่อ
เป็นตึกต่อต่างกำแพงฝากแฝงฝา
เป็นสองฝ่ายท้ายวัดวิปัสสนา
ข้างโบสถ์บาเรียนเรียงเคียงเคียงกัน”
ซึ่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
สุนทรภู่ได้อุปสมบทและจำพรรษาที่พระอารามนี้ ระหว่าง พ.ศ.๒๓๖๘-๒๓๘๕
ระหว่างที่จำพรรษาอยู่นั้น
สุนทรภู่ได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพตลอดมา
สุนทรภู่ได้แต่งบทประพันธ์ไว้หลายเรื่องในขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดารามนี้
เช่น กาพย์พระสุริยา โคลงนิราศเมืองสุพรรณบุรี และมีเรื่องหนึ่งซึ่งกล่าวถึงวัดเทพธิดาราม
คือ “รำพันพิลาป”
ซึ่งกล่าวถึงลักษณะโดยทั่วไปของวัดและปูชนียวัตถุภายในวัดเทพธิดารามวรวิหารในสมัยนั้นด้วย
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ยกย่องท่านเป็น“ผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม”
ในปี 2529
“รำพันพิลาป” ของท่านสุนทรภู่
ซึ่งเป็นนิราศที่แสดงถึงความในใจและประวัติชีวิตของสุนทรภู่ในหลายๆ ส่วน
โดยในตอนหนึ่งท่านได้บรรยายถึงวัดเทพธิดารามว่า
“พระปรางค์มีสี่ทิศพิสดาร โบสถ์วิหารการเปรียญล้วนเขียนทอง
ที่หน้าบันปั้นอย่างเมืองกวางตุ้ง ดูเรืองรุ่งรูปนกผกผยอง
กระเบื้องเคลือบเหลือบสลับเหลี่ยมรับรอง ศาลาสองหน้ารอบขอบกำแพง
สิงโตจีนตีนตัวน่ากลัวกลอก ขยับขยอกแยกเขี้ยวเสียวแสยง
ที่ตึกก่อช่อฟ้าใบระกาแดง ริมกำแพงตะพานขวางเคียงข้างคลอง”
“พระปรางค์มีสี่ทิศพิสดาร โบสถ์วิหารการเปรียญล้วนเขียนทอง
ที่หน้าบันปั้นอย่างเมืองกวางตุ้ง ดูเรืองรุ่งรูปนกผกผยอง
กระเบื้องเคลือบเหลือบสลับเหลี่ยมรับรอง ศาลาสองหน้ารอบขอบกำแพง
สิงโตจีนตีนตัวน่ากลัวกลอก ขยับขยอกแยกเขี้ยวเสียวแสยง
ที่ตึกก่อช่อฟ้าใบระกาแดง ริมกำแพงตะพานขวางเคียงข้างคลอง”
ปัจจุบันทางวัดได้อนุรักษ์กุฏิไว้และเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้เข้าชมได้ทุกวัน
โดยเก็บรักษาสิ่งของเครื่องใช้ของท่านขณะจำพรรษาไว้เป็นอย่างดี
มีรูปหล่อครึ่งตัวของท่านเมื่อยังเป็นพระภิกษุ ประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์
ตั้งเด่นอยู่ที่มุมห้องด้านใน และมีทั้งสมุดข่อย 200 ปี
คัมภีร์พระมาลัย ตำรารักษาโรคต่างๆ รวมถึงเครื่องใช้เล่นแร่แปรธาตุ
และอีกหลายอย่าง
ทางเข้ากุฏิสุนทรภู่ |
ต้นชมพู่ใหญ่ ข้างศาลา |
ศาลาเอนกประสงค์ |
ช่องระบายลมใต้ศาลา |
ภายในกุฏิสุนทรภู่ |
รูปหล่อครึ่งตัว ท่านสุนทรภู่ |
จานเชิงโบราณ |
ของใช้โบราณ |
ปัจจุบันวัดเทพธิดาราม จะเปิดให้ผู้คนเข้ามาตั้งแต่เวลา 9.00 - 18.00 น. ทุกวัน ผู้เข้าเที่ยวชมสามารถจอดรถภายในวัดได้ อย่างไรก็ดี ขอแนะนำว่าอย่านำรถยนต์ส่วนตัวมา เนื่องจากภายในวัดมีที่จอดรถจำกัดและมีพื้นที่ไม่กว้างขวางนัก
ท่ามกลางสังคมเมืองที่วุ่นวาย วัดเทพธิดาราม ยังคงเป็นสถาปัตยกรรมอันงดงามสำหรับนักท่องเที่ยวอันสะท้อนถึงความรักของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชธิดาองค์ใหญ่ในรัชกาลที่ 3 (กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ) นอกจากวัดแห่งนี้จะมีสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่า และมีกลิ่นอายของจีนแล้ว รายละเอียดของสิ่งต่างๆที่อยู่ในวัดยังมีความอ่อนช้อย งดงาม อ่อนหวาน เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อพระอารามที่ได้เฉลิมพระเกียรติแก่เจ้านายที่เป็นผู้หญิง ทำให้รู้สึกถึงความรักของ รัชกาลที่ ๓ สร้างวัดนี้ให้เป็นของขวัญแด่ลูกสาวผู้เป็นที่รัก จึงอดคิดไม่ได้ว่า วัดนี้น่าจะเป็น Unseen Bangkok อีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพ
วัดเทพธิดารามจึงเป็นศาสนสถานอันสำคัญในการทำนุบำรุงและสืบสานงานสถาปัตยกรรมไทยสืบไป
นางสาว ธันยพร กรวัฒนานนท์ รหัส 52020038 (ซ้าย)
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชา สถาปัตยกรรมและการวางแผน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ขอขอบคุณ
·
วัดเทพธิดารามและพระสงฆ์ที่สละเวลาเปิดกุฎิสุนทรภู่ให้เข้าชมค่ะ
·
อาจารย์ไก่ที่ให้ไปงาน
ทำให้เห็นคุณค่าของวัดไทยเพิ่มมากขึ้นอีกแห่งหนึ่ง ได้รู้ถึงสถาปัตยกรรมสมัย
ร.๓
และเหตุผลในการสร้างวัด และรูปแบบ รายละเอียดต่างๆที่มีภายในวัด
ทำให้รู้ว่าทุกอย่างมีที่มา เห็นความงามที่แท้จริงที่ซ่อนอยู่ในอาคาร
·
น้ำ เพื่อนร่วมทริป (ขวา)
และขอขอบคุณแหล่งอ้างอิงข้อมูลต่างๆ
Touronthai.com/วัดเทพธิดาราม-18000062.html
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=13568
http://www.oknation.net/blog/nukpan/2009/06/27/entry-1
http://thepthidaramtemple.wordpress.com/category/ประวัติวัดเทพธิดาราม-วร/พระประวัติพระเจ้าลูกเธ/
http://www.youtube.com/watch?v=8kdEQWBlDsg
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=morkmek&month=10-2012&date=22&group=3&gblog=168
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น